เมนู

2. ปัจเจกพุทธาปทาน


ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

[2] ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟัง ปัจเจกสัมพุทธาปทาน.
พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ได้ทูลถาม
พระตถาคตผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันว่า ได้ทราบว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้น
จึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู ผู้ประ-
เสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าสร้าง
บุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมใน
ศาสนาของพระชินเจ้า.
ด้วยมุขคือความสังเวชนั้นนั่นแล ท่านเหล่านั้นเป็น
นักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อม
บรรลุปัจเจกโพธิญาณได้ แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย.
ในโลกทั้งปวง เว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอกับพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่าน
เหล่านั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี.
ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นโอสถวิเศษ
จงมีใจผ่องใส ฟังถ้อยคำอันดีอ่อนหวานไพเราะ ของพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้ด้วยตนเองเถิด.

คำพยากรณ์โดยสืบ ๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุปราศจากราคะ
และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุพระโพธิญาณ ด้วย
ประการใด.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะ
ว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัด ในโลกอันกำหนัด
ละธรรมเครื่องเนิ่นช้า ชนะทิฏฐิอันดิ้นรน แล้วได้บรรลุ
พระโพธิสัตว์ ณ สถานที่นั้นเอง.
ท่านวางอาญาในสัตว์ทั้งปวงเสียแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์
แม้ตนเดียว ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา
หวังประโยชน์เกื้อกูล พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรด
ฉะนั้น.
ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งใน
บรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนา
สหาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
ความมีเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความ
เสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเสน่หา
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
บุคคลผู้อนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตใจผูกพัน ย่อมทำ
ประโยชน์ให้เสื่อมไป ท่านเล็งเห็นภัยในความสนิทสนมข้อนี้
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่
กอไผ่เกี่ยวพันกันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภรรยา ดัง
หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
เนื้อในป่าไม้ถูกมัด เที่ยวหาเหยื่อด้วยความปรารถนา
ฉันใด ท่านเป็นวิญญูชนมุ่งความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เช่นกับนอแรด ฉันนั้น.
ในท่ามกลางหมู่สหาย ย่อมจะมีการปรึกษาหารือกัน ทั้ง
ในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่หากิน ท่านเล็งเห็นความไม่
ละโมบ ความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นเดียวกับนอแรดฉะนั้น.
การเล่นในท่ามกลางหมู่สหาย เป็นความยินดีและความ
รักในบุตรภรรยา เป็นสิ่งที่กว้างใหญ่ไพศาล ท่านเกลียด
ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เสมือนนอแรดฉะนั้น.
ท่านแผ่เมตตาไปทั้ง 4 ทิศ ไม่มีความโกรธเคือง ยินดี
ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลายได้ ไม่
หวาดเสียว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
แม้คนผู้บวชแล้วบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
สงเคราะห์ได้ยาก ท่านจึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตร
ของคนอื่น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ท่านปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เป็นผู้กล้าหาญ ตัด
เครื่องผูกของคฤหัสถ์ เสมือนต้นทองหลางมีใบขาดมาก
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียว
กัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย
ทั้งปวง มีใจดี มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.
ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้อยู่ด้วยกรรมดี เป็น
นักปราชญ์ ไว้เป็นเพื่อนเที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว
ไป เหมือนพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยว
ไปพระองค์เดียว ดังช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงอยู่ในป่าฉะนั้น.
ความจริง เราย่อมสรรเสริญความถึงพร้อมด้วยสหาย พึง
คบหาสหายผู้ประเสริฐกว่า หรือผู้ที่เสมอกัน เมื่อไม่ได้สหาย
เหล่านั้น ก็พึงคบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่อง ที่นายช่างทองทำ
เสร็จแล้ว กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง (เกิดความเบื่อหน่าย)
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับ
เพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่าง ๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และ

ภัยนี้ของเรา ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน
ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์
เลื้อยคลาน แล้วพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ท่านพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือน
ช้างมีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว สีกายดังดดอกปทุมใหญ่โต ละโขลง
อยู่ในป่าตามชอบใจฉะนั้น.
ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันเกิดเอง นี้มิใช่ฐานะ
ของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
นอแรดฉะนั้น.
ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มี
มรรคอันได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันคนอื่นไม่ต้อง
แนะนำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่ระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน
มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก
ทั่งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
กุลบุตรพึงละเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความฉิบหาย
ตั้งอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหายผู้ขวนขวาย ผู้
ประมาทด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด
ฉะนั้น.

กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี
ปฏิภาณ รู้ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก
ไม่ห่วงใย งดเว้นจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก
พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามที่มีอยู่มากมาย พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
นี้เป็นความเกี่ยวข้อง ในความเกี่ยวข้องนี้ มีสุขนิดหน่อย
มีความพอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า
ความเกี่ยวข้องนี้ดุจลูกธนู พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
นอแรดฉะนั้น.
กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลา
ทำลายข่ายแล้วไม่กลับมา ดังไฟไม้เชื้อลามไปแล้วไม่กับ
มา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว
รักษาใจไว้ได้ อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึง
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านละเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลาง
มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ท่านไม่กระทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยง
ผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวใน
สกุล ฟังเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต 5 ประการ บรรเทาอุปกิเลส
เสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา
แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านทำสุข ทุกข์ โทมนัส และโสมนัสก่อน ๆ ไว้เบื้อง
หลัง ได้อุเบกขา สมถะ และความหมดจดแล้ว พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านปรารภความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพาน มีจิตไม่หดหู่
ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความเพียรมั่น ประกอบด้วยกำลัง
เรี่ยวแรง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร
แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด
เฉียบแหลม เป็นผู้สดับตรับฟัง มีสติ มีธรรมอันพิจารณา
แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่น
กับนอแรดฉะนั้น.
ท่านไม่สะดุ้งเพราะเสียง ดุจสีหะ ไม่ข้องอยู่ในตัณหา
และทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอก
ปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็น
กำลัง เป็นราชาของหมู่เนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำ
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านเจริญเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และ
อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งปวง พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
เสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
นอแรดฉะนั้น.
ชนทั้งหลาย มีเหตุเป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน
มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากในวันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมี
ปัญญามองประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด ฟังเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
นักปราชญ์เหล่าใดมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิต
ตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม
พิเศษ รู้แจ้งธรรมอันประกอบด้วยองค์มรรค และโพชฌงค์.
เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิต-
วิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า
นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกชินเจ้า.
มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วง
ทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง
อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรดฉะนั้น.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอันทรีย์สงบ มีใจสงบ
มีใจตั้งมั่น มีปกติประพฤติกรุณาในสัตว์ ในปัจจันตชนบท
เกื้อกูลแก่เหล่าสัตว์ รุ่งเรื่องอยู่ในโลกนี้และโลกหน้า เช่น
กับดวงประทีปฉะนั้น.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวง
หมดแล้ว เป็นจอมชน เห็นประทีปส่องโลกให้สว่าง มีรัศมี
เช่นรัศมีแห่งทองคำแท่ง เป็นพระทักขิไณยบุคคลชั้นดีของ
ชาวโลก โดยไม่ต้องสงสัย เป็นผู้เต็มเปี่ยมอยู่เสมอ.
คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไป
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้วไม่
กระทำเหมือนอย่างนั้น ชนเหล่านั้นท่องเที่ยวไปในสังสาร-
ทุกข์บ่อย ๆ.
คำสุภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำ
ไพเราะ. ดังน้ำผึ้งรวงอันไหลออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว
ประกอบการปฏิบัติเช่นนั้น ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีปัญญา
เห็นสัจจะ.
คาถาอันโอฬารที่พระปัจเจกสัมพุทธชินเจ้า ออกบวช
กล่าวไว้แล้ว คาถาเหล่านั้นอันพระศากยสีหะผู้สูงสุดกว่า
นรชนทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม.
คำที่เป็นคาถาเหล่านี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
รจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก อันพระสยัมภู

ผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อเพิ่มพูนความสังเวช ความไม่
คลุกคลี และปัญญา ฉะนี้แล.

ปัจเจกพุทธาปทาน จบบริบูรณ์
จบอปทานที่ 2

พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน


พระอานนทเถระเมื่อจะสังคายนาอปทาน ต่อจากพุทธาปทานนั้น
ต่อไป อันท่านพระมหากัสสปเถระถามว่า นี่แน่ะท่านอาวุโสอานนท์
ปัจเจกพุทธาปทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน จึงกล่าวว่า
ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัจเจกพุทธาปทาน
ดังนี้. อรรถแห่ง
อปทานของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั้นแล.
พระเถระเมื่อจะประกาศบทที่กล่าวว่า สุณาถ ด้วยอำนาจการ
บังเกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตถาคตํ เชตวเน วสนฺตํ
พระตถาคตประทับอยู่ในพระเชตวัน ดังนี้. ในคำว่า ตถาคตํ เชตวเน
วสนฺตํ
นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ผู้ประทับอยู่ในวิหารอันมีชื่ออย่างนั้น เนื่องด้วยพระนามของ
เชตกุมาร โดยอิริยาบถวิหารทั้ง 4 หรือโดยทิพวิหาร พรหมวิหาร
และอริยวิหาร พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่มีในกาลก่อน มีพระวิปัสสีเป็นต้น
ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ แล้วเสด็จมาโดยประการใด พระผู้มีพระ-